top of page

สวยได้ไม่ทำลายธรรมชาติ



ใครจะไปรู้ว่าทุกวันนี้ เราอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำลายสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งครีมกันแดด โฟมล้างหน้า แชมพู หรือแม้กระทั่งเครื่องสำอาง และอีกนับไม่ถ้วน เราไม่รู้เลยว่าอาจทำร้ายโลกโดยที่เราไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ

ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับ Eco-Friendly Beauty ซึ่งก็แปลตรงตัวอยู่แล้วคือ สวยแบบไม่ทำลายธรรมชาติ ความงามที่ดีต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการผลิต หรือการผสมผลิตภัณฑ์ก็จำเป็นที่จะต้องเป็นมิตรกับธรรมชาติ ร่วมไปถึงการเพาะปลูกพืชพันธุ์ที่จะใช้เป็นส่วนผสม ไปจนถึงกรรมวิธีการผลิต วัสดุบรรจุภัณฑ์ วิธีการขนส่งเพื่อนำไปวางขายที่ร้านค้า จวบจนการย่อยสลายของผลิตภัณฑ์หลังการใช้

นอกจากนี้ยังมี Eco-Friendly Beauty อีกหลากหลายรูปแบบ อย่างเช่น


  • Natural Cosmetics คือผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมเพียงบางส่วนของธรรมชาติที่มีการกำหนดมาตรฐานไว้ หรือส่วนผสมทั้งหมดธรรมชาติ

  • Organic Cosmetics คือ ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบจากธรรมชาติซึ่งจะต้องได้รับการควบคุมสิ่งแวดล้อมในกระบวนการทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูกไปจนถึงกระบวนการการผลิตที่ปราศจากสารเคมีโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากและใช้ต้นทุนที่สูงมากในกระบวนการ เพราะฉะนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมราคาของผลิตภัณฑ์ที่ใช้คำว่า 'ออร์แกนิค' จึงมีราคาที่ค่อนข้างจะสูงมากเมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์ทั่วไป

อ้างอิงข้อมูลจาก : origanithailand.com

  • Vegan Cosmetics คือไม่มีส่วนผสมที่ได้หรือสกัดมาจากสัตว์ ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม

  • Cruelty-Free คือสกินแคร์และเมกอัพนั้นๆ ไม่ได้ทำการทดลองกับสัตว์แต่อย่างใดในระหว่างขบวนการผลิต


รู้หรือเปล่า ? ในเครื่องสำอางของเราบางชนิดนั้นยังมีสารเคมีที่อันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในทะเลและธรรมชาติอีกด้วยนะคะ ในเครื่องสำอางมีสาอันตรายอะไรบ้าง เรามาดูกันค่ะ


  • พาราเบน (Parabens) : ป็นสารเคมีที่ใช้เป็นสารกันบูดในผลิตภัณฑ์ต่างๆ ทั้งเครื่องสำอาง อุปกรณ์อาบน้ำ ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกาย แชมพูสระผม ครีมนวดผม และผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่าง ๆ อีกมากมาย แต่พอเราทิ้งไปแล้วหากไม่สลายตัว มักจะไปรวมกับน้ำ กลายเป็นสารพิษตกค้าง ถ่ายทอดไปสะสมในสัตว์

  • ไมโครพลาสติก (Microplastic) : พลาสติกที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร มักเกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติกขนาดใหญ่ หรือเกิดจากพลาสติกที่มีการสร้างให้มีขนาดเล็ก ไมโครพลาสติกดูดซับสารพิษได้ดีมากและใช้เวลานานในการย่อยสลาย ทำให้เป็นแหล่งสะสมสารพิษชั้นดี

  • UV-filters : มักพบในกันแดด หรือช่วยให้สีและกลิ่นของเครื่องสำอางคงตัว เมื่อเราอาบน้ำ ว่ายน้ำ ถ้าทาครีมที่มี UV-fliters สารตัวนี้จะละลายลงไป เป็นผลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ที่บริโภคน้ำปนเปื้อนสารเข้าไป

  • ไตรโคลซาน (Triclosan/TCS) : เป็นสารกันเสียชนิดหนึ่ง พบมากในสบู่ แชมพู น้ำยาซักผ้า ยาสีฟัน ครีมกันแดด ไปจนถึงผลิตภัณฑ์ดับกลิ่นกาย เป็นพิษต่อสาหร่ายทะเล, ทำลายระบบฮอร์โมนของปลา, ทำลายตัวอ่อนของปลา

  • Oxybenzone เป็นอีกหนึ่งสารที่มักพบในกันแดดเป็นส่วนใหญ่ เป็นสารที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดพิษต่อระบบนิเวศน์ต่าง ๆ รวมทั้งประการังใต้ท้องทะเลด้วย

สารเคมีจากเครื่องสำอางที่เราใช้ไม่หมดนั้น ส่วนมากมักไม่สามารถย่อยสลายเองได้หรือถูกกำจัดโดยระบบทำลายน้ำเสีย หากทิ้งไปก็อาจจะไหลรวมไปอยู่ในดิน ในน้ำ สะสมกันเป็นสารพิษที่เป็นมลภาวะและทำร้ายสัตว์ในทะเลหรือ บนบก นอกจากนี้ยังมีผลต่อตัวอ่อนและการสืบพันธุ์สัตว์ รวมถึงคนด้วยนะคะ


ข้อมูลจาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุถึง “ ขยะในพื้นที่จังหวัดชายฝั่งประเทศไทย ” พบว่า มีทั้งหมดประมาณ 2.83 ล้านตัน เป็นขยะพลาสติกจำนวน 339,600 ตัน หนึ่งในนั้นคือ “ไมโครพลาสติก” เพราะมีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรเข้าร่วมทำลายท้องทะเลอีกด้วย

โดยไมโครพลาสติกนั้นเกิดขึ้นจากสองแหล่งหลักๆ ด้วยกัน คือ


  1. ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม และในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เช่น ยาสีฟัน สครับหน้า ยากันแดด โฟม อาบน้ำ และ ผงซักฟอก เป็นต้น

  2. เกิดมาจากการย่อยสลายหรือแตกตัวของพลาสติกขนาดใหญ่พลาสติกที่มีขนาดใหญ่เมื่อไหลลงสู่แม่น้ำและทะเลแล้ว จะเกิดการสลายตัวหรือการแตกเป็นชิ้นเล็กเกิดขึ้นเมื่อได้รับอิทธิพลจากแสงอุลตราไวโอเล็ต และอุณหภูมิที่สูงจากดวงอาทิตย์ทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีกับออกซิเจนทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างทางเคมีของพลาสติก และเกิดการแตกตัวเกิดขึ้น


อ้างอิงภาพและข้อมูลจาก : bangkokbiznews.com


แต่ว่าทุกคนสงสัยกันมั้ยค่ะ ว่าเราจะช่วยธรรมชาติยังไง ตราบใดที่เรายังใช้เครื่องสำอาง 1. ส่วนผสม เลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมในภายหลัง เช่น ไมโครบีดส์จากสครับขัดผิวที่มักจะหลงเหลืออยู่ในน้ำหลังการใช้ 2. ภาชนะ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีภาชนะสามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ หรือภาชนะที่ทำจากขยะรีไซเคิล 3. การใช้งาน คือการใช้ทุกอย่างให้คุ้มค่าก่อนทิ้ง หรือสิ่งไหนสามารถส่งต่อได้ สิ่งไหนแปรรูปหรือเอาไปใช้ทำอย่างอื่นได้ เราควรใช้ของทุกชิ้นให้คุ้มค่ามากที่สุด หรือให้คุ้มค่าพอกับทรัพยากรที่เสียไปในการผลิต 4. ใช้ทุกอย่างให้คุ้มก่อนทิ้ง หากเครื่องสำอางที่เราใช้นั้นไม่ต้องการแล้วหรือใช้ยังไม่หมดสิ่งไหนบริจาคได้หรือมีคนอื่นที่ต้องการ เราก็บริจาค สิ่งไหนแปรรูปหรือเอาไปใช้ทำอย่างอื่นได้ เราควรใช้ของทุกชิ้นอย่างคุ้มค่าที่สุด หรืออย่างน้อยก็ให้คุ้มค่าพอกับทรัพยากรที่เสียไปในการผลิตขึ้นมา และการส่งมอบให้กับมูลนิธิ, จิตอาสา หรือองค์กรที่ต้องการก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยให้การใช้ได้อย่างคุ้มค่า อย่างเช่น ส่งต่อเครื่องสำอางให้กับโรงพยาบาล


เป็นยังไงกันบ้างค่ะ พอจะเริ่มเห็นทางในการสวยแบบไม่ทำร้ายโลกกันแล้วใช่มั้ยคะ หากสำหรับสาว ๆ ที่ชอบในแพ็กเกจของผลิตภัณฑ์ อาจจะไม่ถูกใจสิ่งนี้เท่าไหร่นะคะ และหากใครอยาก สวยรักษ์โลก ให้ครบสูตร ใช้เครื่องสำอางหมดแล้วก็ลองดูว่ามีชิ้นไหนที่เอาแพ็คเกจไปคืนทางแบรนด์ได้บ้าง เพราะหลายที่มีโครงการรีไซเคิลแพ็คเกจด้วยค่ะ


Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Twitter Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page