ครีมกันแดดไม่ทำลายปะการัง กันแดดสำหรับดำน้ำ Reef-friendly sunscreen
การเลือกครีมกันแดดทาหน้าสำหรับดำน้ำต้อง
ปกป้องผิวจากแสงแดดได้ดี
กันน้ำ
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
ปกป้องผิวจากแสงแดดได้ดี
ปกป้องผิวจากแสงแดดได้ดีในที่นี้คือครีมกันแดดต้องกันได้ทั้งรังสี UVA และ UVB
โดยปกติครีมกันแดดที่เราเห็นในบ้านเราที่บรรจุภัณฑ์จะมีระบุอยู่แล้วว่า SPF หรือ PA เท่าไหร่ ซึ่ง SPF หมายถึงค่าการปกป้องผิวจากรังสี UVB ส่วน PA จะแสดงถึงค่าการปกป้องผิวจากรังสี UVA หรือในฝั่งอเมริกามักจะใช้คำว่า Broad spectrum ซึ่งหมายถึงความสามารถในการปกป้องทั้งรังสี UVA และ UVB เช่นเดียวกัน เนื่องจากค่า SPF และ PA ที่สูงมากกว่า SPF 30 PA+++ ขึ้นไป จะไม่ได้มีการปกป้องที่ต่างกันมาก แต่ที่ทำให้ค่าการปกป้องต่างกันมากคือปริมาณการทา หรือการทาซ้ำ
เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด ทำให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ FDA กำหนดให้ระบุค่า SPF ได้ที่ไม่เกิน 50+ และ PA ที่เห็นสูงสุดจะอยู่ที่ ++++
ดังนั้นเราเพียงแต่เลือกครีมกันแดดที่สามารถป้องกันรังสีให้ได้ทั้ง 2 ประเภท แล้วเน้นไปที่การทาแทน
กันน้ำ
จะไปดำน้ำทั้งที แน่นอนครีมกันแดดที่เลือกต้องมีความทนน้ำ ไม่หลุดไประหว่างการดำน้ำ ให้หาผลิตภัณฑ์ที่มีระบุว่ากันน้ำ water resistance ซึ่งบางยี่ห้อก็จะมีกำหนดระยะเวลาไปเลย เช่น 80mins หมายถึงทนน้ำได้ 80นาที ซึ่งเราควรจะทาซ้ำตามฉลากระบุ
ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
หนึ่งในข้อที่สำคัญที่สุดในการเลือกครีมกันแดดสำหรับดำน้ำหรือไปทะเลคือกันแดดที่ใช้ควรจะต้องปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะปะการัง
กันแดดที่ปลอดภัยต่อปะการังหรือสิ่งแวดล้อมทางทะเลมีอะไรบ้าง
ไม่มีส่วนผสมของ Oxybenzone, Octinoxate, 4MBC
ไม่ใช้อนุภาคนาโน เช่น nano-sized zinc oxide หรือ nano-sized titanium dioxide
ไม่เป็นกันแดดแบบสเปรย์
มีคุณสมบัติกันน้ำ
ส่วนผสมที่กล่าวมามีงานวิจัยออกมาแสดงให้เห็นถึงผลกระทบของสารดังกล่าวที่มีต่อท้องทะเล เช่น ปะการังฟอกขาว ไปจนถึงการกระทบต่อการเจริญเติบโตของตัวอ่อนของสัตว์น้ำ เราสามารถดูที่ส่วนผสมบนฉลากได้ว่ามีสารดังกล่าวอยู่รึเปล่า หรืออาจจะดูง่ายๆว่ากันแดดดังกล่าวเป็นกันแดดแบบ physical 100% หรือไม่ เพราะ physical sunscreen จะใช้สารการแดดเพียงแค่ Zinc oxide และ Titanium dioxide แต่สิ่งที่ต้องดูต่อคือ เจ้าสารที่ว่าต้องไม่เป็นอนุภาคนาโนด้วย
เช่น
Chou oil free sunscreen เป็นครีมกันแดดแบบ physical sunscreen 100% ซึ่งไม่ใช้อนุภาคนาโน สามารถสั่งซื้อได้ทางไลน์ @chouthailand
นอกจากการดูสารดังกล่าวในส่วนประกอบแล้ว เรายังสามารถหาครีมกันแดดที่ระบุบนฉลากเลยว่า reef-safe sunscreen หรือ reef-friendly sunscreen หรือ Oxybenzone-free sunscreen
ถึงแม้ว่า reef safe / reef friendly จะยังไม่ได้รับการถูกรับรอง หรือการระบุดังกล่าวจะเป็นเพียงการแสดงถึงว่าครีมกันแดดเหล่านั้นไม่มีส่วนผสมของ oxybenzone แต่สารอื่นๆที่ประกอบอยู่ในครีมกันแดดก็ยังอาจส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมได้เช่นกันเพียงแต่ยังไม่มีผลการวิจัยที่ชัดเจนมารองรับ
อย่างไรก็ได้ กันแดดที่มีการระบุ reef-safe sunscreen หรือ reef-friendly sunscreen หรือ Oxybenzone-free sunscreen เหล่านี้ ก็ถือได้ว่ามีความคำนึงสิ่งแวดล้อมอยู่แล้วในระดับหนึ่งแล้ว
กันแดดที่ไม่ใช่แบบสเปรย์และกันน้ำทำไมถึงเป็นกันแดดที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม อันที่จริงแล้วการตกค้าง หรือสารกันแดดที่ลงสู่ทะเลเป็นสาเหตุสำคัญของผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล การที่ใช้กันแดดแบบกันน้ำและแบบทาจะลดปริมาณกันแดดที่ไหลลงสู่ทะเลได้มาก ดังนั้นถ้าเรารักสิ่งแวดล้อมแล้วหละก็พยายามเลือกใช้กันแดดที่กันน้ำและใช้เป็นแบบทาแทนแบบสเปรย์
นอกจากการส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเลโดยตรงในลักษณะที่กล่าวมาแล้ว เราอาจจะลองทดแทนการใช้ครีมกันแดดทาตัวโดยการใส่ชุดกันแดด หรือ ใช้ครีมกันแดดที่ใช้บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายหรือนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ก็สามารถเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม
Comments