ประโยชน์ของการนอนหลับ
คุณคิดว่าการนอนหลับมีประโยชน์จริงไหม ? เป็นคำถามที่ยากจะตอบเพราะเชื่อว่าเวลาการทำงาน หรือการใช้ชีวิตของแต่ละคนนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่มันจะดีกว่าไหมถ้าหากว่าเรารู้ว่าการนอนนั้นสำคัญต่อเราเป็นอย่างมาก และต้องนอนน้อยหรือมากแค่ไหน ถึงจะบอกได้ว่า การนอนนั้นมีประโยชน์จริง ๆ วันนี้เราจะพามาดูกันค่ะว่าประโยชน์ของการนอนนั้นให้อะไรกับเราบ้าง
เชื่อว่าเริ่มเป็นที่ถกเถียงกันเป็นอย่างมากว่าควรนอนในแต่ละคืนหรืแต่ละวันนั้นควรนอนกี่ชั่วโมง ถ้าอยากนอนให้มีประสิทธิภาพควรนอนให้ได้ 7 – 8 ชั่วโมง ซึ่งในแต่ลัช่วงวัยชาวงอายุนั้น ต้องการจำนวนการนอนจะไม่เท่ากัน ชั่วโมงการนอนของเด็ก 11 – 13 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ 7 – 8 ชั่วโมง
รู้หรือเปล่า ? การนอนของเรานั้นแบ่งเป็น 3 ระบบด้วยกัน
หลับตื้น เป็นระยะแรกที่มีการหลับตื้นอย่างแท้จริง แต่ยังไม่มีการฝัน
หลับลึก ร่างกายจะเข้าสู่โหมดพักผ่อนเมื่อเข้าสู่ระยะหลับลึกเป็นช่วงหลับสนิทที่สุดของการนอนใช้เวลา 30 – 60 นาที
หลับฝันอีกระยะหนึ่งที่สำคัญคือ ช่วงหลับฝันร่างกายจะได้พักผ่อน แต่สมองจะยังตื่นตัวอยู่ นอกจากนี้การหลับฝันยังช่วยจัดระบบความจำในเรื่องของทักษะต่าง ๆ ดังนั้น การนอนหลับที่ดีต้องได้ทั้งชั่วโมงการนอนและคุณภาพการหลับด้วย
แม้ว่าบางคนนอนหลับเพียง 4 – 5 ชั่วโมง แล้วตื่นมาสดชื่น ต้องดูว่าเป็นแค่หลับตื้นหรือเปล่า เนื่องจากระยะการหลับตื้นทำให้สดชื่นได้ จึงต้องดูว่าความสามารถในเรื่องอื่น ๆ เป็นอย่างไร หากสังเกตว่าตื่นมาสดชื่นแต่ความสามารถในเรื่องอื่น ๆ ลดลง นั่นแสดงว่า ชั่วโมงการนอนไม่เพียงพอ ควรที่จะนอนหลับให้นานกว่านั้น เพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์การนอนของแต่ละระยะให้นานขึ้น
บางคนนอนมากกว่า 7 – 8 ชั่วโมง แต่ตื่นมาแล้วไม่สดชื่น เป็นไปได้ว่าชั่วโมงการนอนเพียงพอ แต่คุณภาพการนอนไมได้ คือได้แค่หลับตื้นไม่เข้าสู่ระยะหลับลึก ซึ่งต้องไปหาสาเหตุต่อว่า ทำไมไม่สามารถเข้าสู่ระยะหลับลึกได้เป็นเพราะอะไร
แล้วสงสัยกันมั้ยค่ะว่า.....นอนไม่พอแล้วนอนเยอะชดเชยอดนอนได้ไหม ?
สำหรับชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมของคนวัยทำงาน 7 – 8 ชั่วโมงถือว่าเพียงพอแล้ว หากนอนมากกว่านั้นก็จะหลับไม่สนิท เพราะต้องรับรู้ว่าชั่วโมงการนอนครบแล้ว ทำให้นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่เป็นหลับระยะสนิทเหมือนช่วงแรก เนื่องจากร่างกายเก็บพลังงานได้เพียงพอแล้ว เปรียบเหมือนกับการชาร์ตแบตเตอรี่มือถือ ไม่ควรชาร์ตทิ้งไว้ข้ามคืน การนอนก็เช่นเดียวกัน เพราะแทนที่ร่างกายจะตื่นตัวกลับทำให้การตื่นตัวลดลง กรณีนอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมงถือว่า “อดนอน” ถ้าอดนอนติดกัน 3 วันแล้วคืนวันที่ 4 ถ้าหลับ ไม่ว่าจะหลับกี่ชั่วโมงก็ตามร่างกายจะพยายามช่วยเหลือตัวเองคือ พอเริ่มหลับก็เข้าสู่ระยะหลับลึกเลย หากมีเวลานอนที่นานพอ ร่างกายจะเริ่มปรับวงจรการนอนหลับอีกครั้งหนึ่ง จากปกติต้องมีระยะเวลาการนอนช่วงแรก 30 – 60 นาที จะเป็นหลับตื้นแล้วค่อย ๆ หลับลึกไปเรื่อย ๆ แต่ถ้าต้องตื่นก่อน 4 ชั่วโมงจะกลายเป็นว่า ครั้งต่อไปพอจะหลับอีกวงจรการนอนจะยังไม่ครบ การหลับจะเป็นหลับลึกในระยะเวลาสั้น ๆ แค่ทำให้สดชื่นแต่ประสิทธิภาพเรื่องความจำจะไม่เท่าเดิม ฉะนั้นถ้ามีโอกาสที่จะหลับซ่อมแซมหรือหลับชดเชยควรนอนให้ครบชั่วโมง การนอนที่เหมาะสม จะทำให้สภาพร่างกายกลับมาเหมือนเดิมได้ในระยะเวลาไม่กี่วันหรือถ้าหากมีโอกาสหลับเต็มที่หนึ่งวันเต็ม ๆ หลังจากอดนอนมา 3 วัน”
อ้างอิงข้อมูลจาก : bangkokinternationalhospital.com
ประโยชน์ของการนอนหลับอย่างเพียงพอ
1. เพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด พบว่าเมื่อเจ็บป่วยหรือไม่สบาย การนอนหลับอย่างเพียงพอ จะช่วยลดอาการติดเชื้อและลดอาการอักเสบได้ การนอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ทำให้ร่างกายไม่อ่อนแอ ลดโอกาสที่จะทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้ดียิ่งกว่าการนอนที่ไม่เพียงพอ
2. ผิวพรรณ์ดูสดใส เปล่งปลั่ง
จากการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน พบว่าคนที่นอนหลับลึก หลับสนิท อย่างเต็มที่ จะมีผิวพรรณ์ที่ดูสดใส เปล่งปลั่ง กว่าคนที่นอนหลับไม่เพียงพอ สังเกตุได้ว่า สีหน้าของคนที่นอนหลับไม่เพียงพอจะดูโทรม และดูไม่ดี
3. เพิ่มประสิทธิภาพความคิดสร้างสรรค์
เการนอนส่งผลต่อสมองในแง่ของการจัดการความทรงจำ เมื่อนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ สมองจะสามารถจดจำอะไรได้ดียิ่งกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้เมื่อเราจะต้องคิดหรือสร้างสรรค์ สิ่งใด ประสิทธิภาพในการคิดจะสูงขึ้นและมีโอกาสได้ไอเดียดี ๆ มากกว่า การนอนหลับที่ไม่เพียงพออย่างแน่นอน
4.มีอายุยืนยาวกว่า
การนอนหลับไม่เพียงพอ ส่งผลให้อายุขัยของคุณสั้นลง เนื่องจากผลวิจัยจากนักวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยวอร์วิก เมื่อปี 2007 พบว่าคนที่นอนไม่เพียงพอ นั้นมีโอกาสสูงกว่าที่จะเป็นโรคหัวใจล้มเหลว เมื่อเทียบกับคนที่นอนหลับสนิทอย่างเพียงพอ
5.ลดโอกาสการเป็นโรคเบาหวาน
ฮอร์โมนอินซูลิน ขึ้นชื่อในเรื่องของ การเป็นฮอร์โมนสำหรับความอ้วน เมื่อคุณนอนน้อย อินซูลิน จะทำงานผิดปกติ ลุกลามไปถึงการควบคุมน้ำตาลในเลือด ในที่สุดก็มีโอกาสเสี่ยงกับโรคเบาหวานได้มากกว่า
6.อารมณ์แจ่มใส มีความสุขมากกว่า
ข้อนี้เรียกได้ว่า ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผลทางวิทยาศาสตร์มารองรับ เพราะคุณสามารถสังเกตุได้เอง และเห็นผลชัดเมื่อลองเทียบ ระหว่างในวันที่คุณนอนหลับอย่างเต็มที่ และ ในวันที่คุณนอนน้อยหรือนอนหลับไม่สนิท ภาวะทางอารมณ์จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน หากคุณนอนหลับไม่เพียงพอ นอกจากตัวคุณเองที่จะมีสุขภาพจิตที่แย่ลง อาจส่งผลต่อคนรอบข้างของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการเจรจาด้วยน้ำเสียงที่ไม่ดีโดยไม่รู้ตัว หรือการปฏิบัติต่อคนรอบข้างด้วยภาวะอารมณ์ที่ไม่พร้อม การนอนหลับพักผ่อนอย่างมีประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องที่ ต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก
อย่างที่ทราบกันดีว่า แพทย์มักแนะนำให้ ให้เรานอนหลับพักผ่อนให้ได้อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง แต่ด้วยอายุที่มากขึ้นกิจกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการงาน หรือสังคม ล้วนส่งผลให้คุณภาพในการนอนน้อยลง ช่วงนี้ก็อย่าลืมดูแลสุขภาพร่างกายกันด้วยนะคะ
อ้างอิงข้อมูลจาก
- hirakawathai.com
- bangkokinternationalhospital.com
- bangkokhealthy.com
Comments