ฉลากบนเครื่องสำอางต่างกันอย่างไร ?
ฉลากบนเครื่องสำอางต่างกันอย่างไร ?
สาว ๆ ท่านไหนที่รักเครื่องสำอางยกมือขึ้น สำหรับใครที่ชอบในเรื่องของการแต่งหน้าบอกเลยว่าเรื่องนี้ห้ามพลาด เพราะหลายคนคงจะสงสัยว่าฉลากบนเครื่องสำอางนั้นสื่อถึงอะไรบ้างเพราะปัจจุบันเครื่องสำอางกลายเป็นส่วนหนึ่งของเรา ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ในชีวิตประจำวัน ดังนั้นก่อนจะตัดสินใจซื้อเครื่องสำอางวันนี้เราลองมาทำความเข้าใจฉลากที่ติดอยู่ด้านหลังสินค้ากันก่อนค่ะ
1. Shelf life
ลักษณะสลากตัวนี้เราจะสังเกตได้ว่าจะเป็นลักษณะรูปกระปุกเปิดฝาและจะมีตัวอักษรในนั้น โดยเฉพาะเครื่องสำอางที่มาจากแถบประเทศยุโรป ความหมายสลากดังกล่าวบ่งบอกถึงวันหมดอายุหลังการเปิดใช้ โดยตัวเลขที่ระบุอยู่หมายถึงจำนวนเดือนที่เครื่องสำอางสามารถใช้ได้นั่นเอง เช่น 6M หมายถึง เครื่องสำอางมีอายุหลังจากการเปิดใช้ 6 เดือน หรือ 24M หมายถึง เครื่องสำอางมีอายุหลังจากการเปิดใช้ 24 เดือน
2. best before date
ลักษณะรูปนาฬิกาทรายบ่งบอกถึงวันที่ควรบริโภคก่อน ซึ่งก็บ่งบอกอยู่แล้วว่าเรานั้นควรใช้ก่อนวันไหน บางครั้งอาจจะใช้เป็นอักษรย่อ BBE หรือ EXP ในการแสดงวันหมดอายุ
3. Net contents
ตัว “อี” ในภาษาอังกฤษตัวอักษรเล็กบ่งบอกถึงปริมาณหรือน้ำหนักที่บรรจุตรงตามที่ระบุไว้บนฉลากซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายของสหภาพยุโรป
4. Refer to Insert
เป็นสัญลักษณ์นิ้วที่ชี้ไปบนหนังสือ ความหมายของฉลากนี้หมายถึงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้าในแผ่นพับ มักพบในสินค้าที่มีขนาดเล็กทำให้ไม่สามารถอธิบายรายละเอียดบนตัวสินค้าได้อย่างชัดเจนจึงมีเอกสารแนบกำกับไว้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม
5. responsibility for packaging
สัญลักษณ์ลูกศรสีเขียวที่เชื่อมต่อกันในวงกลมถูกใช้ในประเทศในสหภาพยุโรปเพื่อแสดงว่าผู้ผลิตได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้เชี่ยวชาญที่ดูแลจัดการการกู้คืนและรีไซเคิลขยะที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีการกำจัดขยะอย่างถูกวิธี
6. responsible forest management
FSC ย่อมาจาก Forest Stewardship Council ที่แสดงถึงการไม่แสวงหากำไร ถูกตั้งขึ้นมาจากการสนับสนุนเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนโดย FSC จะทำหน้าที่ตรวจสอบ รับรองป่าไม้และสินค้าที่ทำจากไม้มีการบริหารจัดการโดยคำนึงถึงความหลากหลายทางชีวภาพ และชุมชนเพื่อผู้บริโภคจะมีโอกาสในการตัดสินใจเลือกที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
7. organic
สัญลักษณ์บ่งบอกถึงสินค้าที่มาจากธรรมชาติ และไม่มีการใช้สารเคมีหรือฆ่าเชื้อโรคโดยการฉายรังสี ในสัดส่วนที่มากกว่า 95 % organic ได้แบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
สินค้าที่มีส่วนผสมเป็น organic 100%
สินค้าที่มีส่วนผสมเป็น organicไม่น้อยกว่า 95% สำหรับสินค้าที่มีส่วนผสมorganicน้อยกว่า 95% จะไม่สามารถใช้ฉลาก USDA organic ได้ แต่ถ้ามีส่วนผสมไม่น้อยกว่า 70% จะสามารถระบุบนฉลากว่าใช้ส่วนผสมที่เป็น organic ได้ เช่น “Made with organic ingredients” หรือถ้ามีส่วนผสมน้อยกว่า 70% จะสามารถระบุว่ามีส่วนผสมบางส่วนเป็น“Some organic ingredients”
8. Cruelty free
เป็นสัญลักษณ์ระดับสากลที่รับรองว่าผู้ผลิตไม่ได้ทำการทดลองในสัตว์ หรือมีส่วนผสมใดๆ ที่ผ่านการทดลองในสัตว์มาก่อนในตลอดทุกขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบในสัตว์ไม่รวมการทดสอบในหลอดทดลองหรือการทดสอบที่ดำเนินการโดยสมบูรณ์กับอาสาสมัครที่เป็นมนุษย์ โดยสัญลักษณ์นี้เป็นไปตามมาตรฐานและได้รับการรับรองจากหน่วยงาน Coalition for Consumer Information on Cosmetics (CCIC) ในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
9. Gluten-free
เมื่อมีสัญลักษณ์นี้ก็สามาบ่งบอกได้เลยว่า ปราศจากกลูเตน หลายคนพยายามที่จะไม่กินอาหารที่มีโปรตีนหรือเรียกอีกอย่างว่าตังผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวแล้วว่าโปรตีนชนิดนี้มีความสามารถในการกระตุ้นปฏิกิริยาภูมิแพ้และความผิดปกติทางเดินอาหารต่าง ๆ ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่าอันตรายต่อสุขภาพอาจจะเป็นเครื่องสำอางที่เข้าสู่ร่างกายด้วยมือหรือริมฝีปาก
10. Biodegradable
วัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพ สามารถย่อยสลายหรือแตกสลายเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยได้โดยจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งจะได้ออกมาเป็น น้ำ, คาร์บอนไดออกไซด์ หรือสารชีวมวล และสามารถหมุนเวียนคืนสู่ธรรมชาติอย่างสมดุลและปลอดภัย ซึ่งระยะเวลาของกระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม
11. Hypoallergenic
เป็นสัญลักษณ์บ่งชี้ว่า ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางถูกออกแบบมาเพื่อผิวแพ้ง่าย ทดสอบแล้วว่ามีโอกาสเกิดการแพ้น้อยกว่าปกติ เป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ผู้ผลิตหลีกเลี่ยงการใช้ส่วนประกอบที่เสี่ยงต่อการแพ้ระคายเคือง เช่น แอลกอฮอล์ น้ำหอม และสารกันเสีย
Comments